Jay Taylor Media - Alasdair Macleod An Unexpected Systemic Crisis For Sure วิกฤตของระบบ..มันมาแน่ Sep 3, 2020
0:35.....Jay..... อยากให้อธิบายเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาด repo เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว แล้วทำไมเรื่องนี้ถึงยังสำคัญจนถึงวันนี้
Alasdair.....มันคือปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระบบแบ้งกิ้งเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ..ปกติการกู้ยืมกันในระยะสั้นระหว่างธนาคารที่เรียกว่าตลาด repo มันจะเกิดแค่ชั่วข้ามคืนเนื่องจากขาดสภาพคล่องชั่วคราวซึ่งเป็นเรื่องปกติ ..แต่ตอนนั้นสภาพคล่องในตลาดมันมีปัญหา จนอัตราดอกเบี้ยระหว่างแบ้งค์สูงถึงประมาณ 10% ...Fed จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เพราะถ้าอัตราข้ามคืนสูงถึงขนาดนี้ ..มันจะไปต่างกันอย่างแรงกับอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ซึ่งเวลานั้นอยู่ที่ 1.5 - 2%
Fed จึงเข้ามาซัพพลายสภาพคล่องแบบจัดเต็มให้กับตลาดอย่างเลี่ยงไม่ได้และก็หยุดไม่ได้ซะด้วย เราก็ไม่รู้ว่าการขาดสภาพคล่องแบบกระทันหันมันเกิดขึ้นได้ยังไง ......แต่ผมสังเกตุเห็นว่าช่วงนั้น Deutsche Bank มีการขายธุรกิจบริการจัดการหลักทรัพย์ (prime brokerage) ให้กับกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ของธนาคาร BNP แห่งฝรั่งเศส ...ผมคิดว่าไอ้กองทุนนั้นคงมีปัญหาสภาพคล่องแน่ ๆ ..จนเกิดการช้อร์ตขึ้นในแบ้งค์แห่งใดแห่งหนึ่งหรือทั้งสองแห่งนั้น ที่ไปทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมันพุ่งสูงลิ่วซะขนาดนั้น
เมื่อแบ้งค์เกิดปัญหาการชอร์ตสภาพคล่อง มันจะเป็นเรื่องซีเรียสมาก และเป็นไปได้มากที่จะนำไปสู่วิกฤตแบ้งกิ้ง ในระดับฐานรากของระบบเลย (dislocation systemic issue)
แถมมันยังมาเกิดเอาตอนที่การค้าระหว่างประเทศกำลังอยู่บนขอบเหว จากการขัดแย้งของสหรัฐและจีนที่ไปทำให้หลายประเทศเกิดเศรษฐกิจถดถอยกันเป็นแถว เช่นเยอรมันที่มีคู่ค้าหลักคือจีน ...และเป็นช่วงท้ายของวงจรรอบสิบปีแห่งการขยายตัวของเครดิตที่กำลังใกล้แตกซะด้วย ...แล้วไอ้ตอนที่วงจรเครดิตมันแตกน่ะ มันมักจะเกิดทันทีทันใดแบบดูไม่จืดเลยทีเดียวแหละ .....เดือนกันยายนปีที่แล้ว มันเรียกได้ว่าถึงจุดจบของวงจรแบ้งค์เครดิตแล้ว แต่จะบอกว่าปัญหามาจากเรื่องนี้ซะทีเดียวก็ไม่ถูกนัก เรื่องมันเยอะ
3:45....Jay....ดูเหมือนว่าสหรัฐอยู่ได้ด้วยการหนุนจากชาติที่ส่งออก..ที่มีดอลลาร์เหลือใช้จากการส่งออก แล้วมาถือพันธบัตรสหรัฐ ..แต่เมื่อเดือนกันยายนนั้น ดูเหมือนจะมีการทิ้งบอนด์จากผลของ trade war ...ต่างชาติคงจะไม่ใจดีต่อสหรัฐในแบบที่เคยเป็อีกแล้ว
Alasdair....ใช่..ที่ผ่านมามันรวม ๆ กันถึง $21 ล้านล้าน อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์และหลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น ..พันธบัตร ..หุ้น ฯลฯ และยังมีตั๋วเงิน Treasury Bill อีกประมาณ $5,000 ล้าน ..เงินฝากในธนาคารที่นิวยอร์ค ....แล้วพอพวกเขารู้ว่าจากนี้ไปการค้ากับสหรัฐต้องหดตัวลงอย่างแรง เขาก็ไม่รู้จะถือทรัพย์สินในรูปดอลลาร์ไปทำแป๊ะอะไร ....เราจึงได้เห็น Dollar Index DXY มันหล่นจากพีค 102 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ..ลงมา 10 จุดเวลานี้ .....
6:15...Jay...และเมื่อสักครู่ที่สัมภาษณ์ Michael Oliver เขาบอกว่าถ้าเมื่อไหร่ที่เราเห็น DXY มันอยู่ที่ 91 ล่ะก็ เราจะได้เห็นมันร่วงถึง 84 อย่างรวดเร็ว ....ถ้าเหตุการณ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วเป็นสัญญานเตือน (canary in the coal mine) ของ Fed แล้วล่ะก็ คุณคงจะบอกได้ถึงสัญญานเตือนของพวก GSIBS (Global Systemically Important Banks ....แบ้งค์ยักษ์ระดับโลก) ใช่หรือเปล่า
Alasdair....แบ้งค์พวกนี้ต้องมีสภาพคล่องมากกว่าพวกแบ้งค์พาณิชย์ทั่วไป เพราะจากบทเรียนวิกฤตที่ผ่านมา ปัญหามักเกิดจากสภาพคล่อง ทำให้พวกนี้ต้องมีสำรองเงินสดถึง 30 วัน ....พวก GSIBS ในอเมริกาที่เห็นมีดีก็แค่ Wells Fargo เท่านั้น นอกนั้นยังน่าสงสัย
แล้วถ้าไปดูแบ้งค์ในยุโรป มันน่ากลัวมาก ตัวอย่างเช่น Sociate Generale (ของฝรั่งเศส) มันมีอัตราส่วน Price/Book แค่ 18 ...พูดอีกอย่างก็คือ นักลงทุนให้ค่าของมันแค่ 18% จากมูลค่าตามบัญชี ....แบ้งค์อื่นก็ไม่ได้ดีไปกว่านี้ ทั้ง Deutsche Bank หรือ Barclay's ...ส่วนของที่ฮ่องกง ทั้ง HSBC และ Standard Charters ก็มีราคาหุ้นต่ำสุดใน 52 สัปดาห์ซึ่งก็พอจะเห็นแววแล้ว
นอกจากนี้อีก 4 แบ้งค์ยักษ์ของจีนในลิสต์ของ GSIBS ก็ร่วงลงอย่างแรงเหมือนกัน ถึงแม้รัฐบาลจีนจะเป็นเจ้าของก็เหอะ ....นี่ทำให้เราเห็นแล้วว่าเรากำลังอยู่ในความเสี่ยงของระบบ (systemic risk) แต่แปลกที่ไม่มีใครสนใจสักเท่าไหร่
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม Fed บอกว่าจะทำทุกอย่างที่จะช่วยเศรษฐกิจของโลก ซึ่งหมายความว่าจะพิมพ์เงินแบบจัดเต็มหรือใช้มาตรการดอกเบี้ยติดลบถ้าจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดเศรษฐกิจถดถอย
เราไปดูปริมาณ money supply M1 ดู ...ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์มาจนถึงวันนี้ มันเพิ่มไปถึง 60% (คิดอัตราส่วนทั้งปี ปกติหนึ่งปีควรเพิ่ม 8%...ผู้แปล) ...เทียบกับเมื่อหลังเกิดวิกฤตเลห์แมน มันเพิ่ม 16.6% (อัตราส่วนต่อปี) ...แต่มันยังไม่จบ การพิมพ์เงินยังไม่หยุด เพราะปัญหายังไม่หมดเช่นเรื่อง supply chains
ถ้าเป็นแบบนี้ไปทั้งปี ก็จะเท่ากับเพิ่ม 60%

ที่มา: สายัณห์ รุจิรโมรา
#วิกฤตระบบการเงินโลก