Yahoo Finance Julia La Roche - Ray Dalio Introspective Look At Financial World Order Nov 7, 2020
Ray Dalio ผู้ก่อตั้งกองทุน Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุดในโลก ...Bridgewater Associates
1:05...Julia...คุณพูดถึงเรื่องของสามพลังที่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ...ก่อนที่จะมีโรคระบาดเกิดขึ้น ...มันคืออะไร
Ray....เมื่อปี 2008 สหรัฐอยู่ในสถานการณ์วิกฤตทางการเงินที่ทำให้ต้องมีการพิมพ์เงินสร้างหนี้กันมหาศาล ...และมีการซื้อพันธบัตรแปลงหนี้เป็นทุน (monetizing debt) ...ที่ไปทำให้เกิดนโยบายประชานิยมกันไปทั่วทั้งโลก ...มันมีผลกระทบกับตลาดในหลาย ๆ ด้าน
มันทำให้ผมเห็นถึงผลกระทบว่ามีเรื่องใหญ่ ๆ อยู่สามเรื่องที่ครอบงำโลกนี้อยู่หลังจากนั้น ก่อนที่ Covid จะเกิดขึ้นซะอีก
เรื่องแรกคือ วงจรหนี้ในระยะยาวจากการพิมพ์เงินมาซื้อหนี้ที่มีผลกระทบต่อตลาดโดยรวม ...เรื่องที่สองคือ ช่องว่างระหว่างคนรวย/จน ที่มันห่างออกทุกที ทำให้เกิดความขัดแย้ง เหมือนกับในช่วงปี 1930-45 ที่มีการพิมพ์เงินมากเหมือนกัน ...เรื่องที่สามคือการขึ้นมาของจีนที่จะเทียบขั้นกับมหาอำนาจเจ้าเดิม เรื่องนี้มีผลกระทบมากไม่ใช่แค่ trade war แต่ยังมี technology war ..geopolitical war และ capital war
สามเรื่องที่ว่านี้ทำให้เรามองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ดูถึงการเกิดขึ้นและดับไปของจักรวรรดิ์เงินรีเสิร์ฟของโลก .....ตั้งแต่เมื่อ 500 ปีก่อนแล้ว จักรวรรดิ์ดัทช์ ..จักรวรรดิ์บริติช ..ตลอดถึงการเกิดและกำลังจะดับของจักรวรรดิ์อเมริกัน ทั้งหมดนี้ผมเขียนอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ The Changing World Order
4:25...Julia... อยากให้อธิบายถึงเรื่องความกังวลตอนที่พูดถึงช่วงปี 1930 - 45
Ray....มันเป็นเรื่องที่น่ากังวลและอยากให้มองย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีก่อน..ที่มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจนมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่ผมพบคือ มันเป็นวงจรใหญ่ ...เมื่อปี 1945 เราเริ่มมี New World Order ที่คิดจะสร้างโลกใหม่หลังสงครามโลก เริ่มจากการที่ให้ยูเอสดอลลาร์เป็นเงินรีเสิร์ฟของโลก เพื่อขจัดความขัดแย้งสู้รบกันระหว่างประเทศ โดยให้มีอำนาจเดียวมาคุมไว้ และมันก็ได้ผล..ทำให้มีสันติสุขและความรุ่งเรือง ....แต่มันก็นำไปสู่การสร้างหนี้มโหฬาร ที่สร้างโอกาสมากมายจากการเป็นหนี้ เพราะโลกต้องการสะสมเงินรีเสิร์ฟนั้น ทำให้สหรัฐต้องเป็นหนี้ลึกลงไปทุกที ...(เรื่องนี้ต้องศึกษาเพิ่มจาก Triffin's dilemma ... ผมจะโพสท์ลิ้งค์ในคอมเม้นท์ครับ....ผู้แปล)
ดังนั้น สหรัฐจึงมีความรุ่งเรืองและเกิดฟองสบู่มากมาย เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ที่มาจากการเป็นหนี้ ..แต่มันก็มีลิมิต ลิมิตเริ่มเห็นชัดขึ้นเมื่อตอนที่ Fed พิมพ์เงินหรือเพิ่มเครดิตยากขึ้น..จากการที่ดอกเบี้ยมันลงถึงศูนย์แล้ว เรื่องสำคัญของระบบการเงินอันดับแรกเลยคืออัตราดอกเบี้ย ...ซึ่งเมื่อถึงตอนที่นโยบายดอกเบี้ยช่วยไม่ได้แล้ว ก็ต้องไปขั้นต่อไปคือ พิมพ์เงินซื้อหนี้พันธบัตรหรือทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ
ทีนี้มันก็ไปทำให้เกิดช่องว่างทางฐานะระหว่างผู้ที่มีทรัพย์สินทางการเงินกับผู้ที่ไม่มี ...แล้วเรื่องนี้ก็มาเกิดขึ้นในช่วง downturn ทางเศรษฐกิจ นี่จะเป็นความขัดแย้งอย่างแรง
เรื่องแบบนี้เคยเกิดมาแล้วในประวัติศาสตร์ วิธีแก้ปัญหาของธนาคารกลางก็คือ..พิมพ์เงินเพิ่มไปอีกและอีก และใช้นโยบายประชานิยม เช่นมีการส่งเช็คทางไปรษณีย์ให้ประชาชนของตน ....แล้วระหว่างสถานการณ์แบบนี้แหละที่จะเกิดผู้ท้าชิงรายใหม่ที่จะมาวัดรอยเท้าของมหาอำนาจเจ้าเดิม
ประชาชนเองไม่รู้ถึงสถานการณ์นี้เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ ผมสังเกตุจากตัวเองว่า หลายเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้นเลยตลอดชีวิตผม แต่มันเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาหลายครั้ง หนึ่งในเรื่องนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 1971 ตอนที่นิกสันออกมาประกาศว่าเราจะไม่ให้มูลค่าแก่ทองคำที่จะมาเทียบค่ากับดอลลาร์อีกต่อไป ผมเองตอนนั้นคิดว่านี่คือวิกฤต แต่ตลาดหุ้นก็ขึ้นได้ถึง 4% ที่ถือว่าสูงมากในรอบยี่สิบปี ...แล้วผมก็พบว่ารูสเวลท์ก็เคยทำเรื่องเซอร์ไพรส์แบบนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1933 ...แล้วสองเรื่องนี้ก็มาเกิดขึ้นอีกเมื่อ 9 เมษายนปีนี้เอง เมื่อรัฐบาลร่วมกับ Fed ประกาศว่าจะพิมพ์เงินและขยายเครดิตเพิ่มอีก
ทั้งหมดนี้แหละเป็นเรื่องที่ผมศึกษาและอยากให้สาธารณชนพิจารณา เพื่อที่จะไม่ต้องรู้สึกเซอร์ไพรส์ เมื่อเกิดอะไรขึ้น....เตรียมสอนเด็กรุ่นหลังให้รู้จักวินัยทางการเงิน สอนให้เปิดใจเรียนรู้ถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต อนาคตจะไม่เหมือนเดิมอีกเพราะมันจะเดินไปวงจรที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว..แต่รุ่นเราไม่เคยรู้ ...เราคุ้นกันแต่ว่าอนาคตจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจากปัจจุบัน แต่ครั้งนี้ไม่ใช่
เหมือนยุค 1930s ที่ตรงข้ามกับยุค 1920s อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ...และช่วง 1950s ก็ตรงข้ามกับ 1940s ก่อนหน้า แบบไม่มีอะไรเหมือนกันเลย
#ประชานิยม

ที่มา: สายัณห์ รุจิรโมรา