Cr. Oh Vara
บทความเก่าจาก The Economist - January 1988
goldbroker
The Economist: "Get Ready For A World Currency By 2018" | GoldBroker
Aug 27, 2017
Just to be clear: This is NOT fake news.
It is an article from The Economist published 29 years and six months ago:
Get Ready for the Phoenix
January 9, 1988, Vol. 306, pp 9-10
อีกสามสิบปีนับจากนี้ ชาวอเมริกัน ญี่ปุ่นและยุโรป และในทุกประเทศในโลก
อาจได้ใช้เงินช้อปปิ้งสกุลเดียวกัน ราคาสินค้าจะไม่ quote กันเป็นดอลลาร์ เยน หรือด้อยช์มาร์คอีกต่อไป
แต่จะเป็น Phoenix สกุลเดียว ..Phoenix จะเป็นที่ยอมรับทั้งในบริษัทธุรกิจและนักช้อป
เพราะมันจะสะดวกกว่าการใช้เงินต่างสกุลเช่นในปัจจุบัน
ซึ่งมันดูล้าสมัยและสร้างปัญหาให้มากต่อเศรษฐกิจในช่วงยี่สิบศตวรรษที่ผ่านมา
ในปีปัจจุบัน 1988 นี้ การทำนายแบบนี้มันก็ฟ้งดูแปลกเหลือเชื่อ
เคยมีการเสนอรวมกลุ่มสกุลเงินเกิดขึ้นเหมือนกันหลายครั้งในช่วงห้าหรือสิบปีที่ผ่านมา
แต่ก็ไม่เคยเกิดถึงแม้ช่วงทรุดหนักอย่างปี 1987 ที่ผ่านมาเมื่อปีที่แล้ว .....
ตอนนั้นรัฐบาลหลายประเทศก็พยายามปรับเปลี่ยนระบบเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
ที่เป็นเสมือนการนำร่องของการปฏิรูประบบการเงิน
แต่ก็ไม่มีความร่วมมือกันในด้านนโยบาย ...
กลับไปเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนทำให้ตลาดหุ้นพังลงในเดือนตุลาคม ...
เหมือนจะเป็นการสั่งสอนคนที่คิดจะปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน ว่าการที่ตลาดหุ้นพังน่ะ
เพราะมีการแสร้งให้ความร่วมมือระหว่างกัน ....ทีหลังอย่าทำ อยู่เฉย ๆ
เหอะ (worse than nothing) .....รอให้ความร่วมมือมันเกิดขึ้นจริง ๆ
โดยมีเจ้านายใหญ่มาจัดการให้เถอะ แล้วตอนนั้นค่อยมากำหนดค่าเงินกันใหม่
THE NEW WORLD ECONOMY
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เกิดตั้งแต่ช่วงต้นของ 1970s
นั่นคือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนข้ามประเทศที่เข้ามาแทนที่เงินที่ได้จากการค้า..
ซึ่งปกติแล้วมันเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยน
ผลจากการรวมตัวของตลาดการเงินของโลกแบบนี้
ทำให้อัตราดอกเบี้ยถูกกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน
ซึ่งยิ่งทำให้การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินการเงินจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง..เพิ่มมากขึ้นไปอีก
เงินทุนที่ย้ายข้ามประเทศมากกว่าเงินที่ได้จากการค้าซะอีก ทำให้ดีมานด์ซัพพลายของสกุลเงินต่าง ๆ
เพี้ยนจนไปกระทบอัตราแลกเปลี่ยน ...เทคโนฯ การสื่อสารยิ่งก้าวหน้า..
ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนยิ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยลง สกุลเงินทั่วโลกก็ยิ่งผันผวนหนักเข้าไปอีก
เวลายิ่งผ่านไป ประเทศต่าง ๆ ยิ่งต้านทานกำลังอิทธิพลการเงินจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้ยากขึ้น ...
เทรดเดอร์อัตราแลกเปลี่ยนและรัฐบาลหลายประเทศกลายเป็นผู้ทำกำไรสูงสุด
ถ้ามีการใช้เงิน Phoenix ...ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่หมดไป
จะเป็นการกระตุ้นการค้า การลงทุนและการจ้างงาน ....อาจมีการออกกฎระเบียบมาควบคุมรัฐบาลประเทศต่าง ๆ
ที่จะทำให้นโยบายการเงินของแต่ละประเทศหมดความจำเป็น ..Phoenix
จะมีจำนวนที่แน่นอนที่กำหนดมาจาก IMF ..อัตราเงินเฟ้อของโลก
จะใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ ซึ่งน้อยมาก
และแต่ละประเทศก็ยังคงสามารถใช้อัตราภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐเข้ามาเป็นตัว offset ดีมานด์ ....
การ finance การขาดดุลงบประมาณควรจะเป็นการกู้มากกว่าจะพิมพ์เงิน
การควบคุมการกู้เงินควรจะต้องระมัดระวังมากขึ้น ไม่ใช่เป็นแบบในปัจจุบัน ...
ต้องยอมเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจไปบางส่วน แต่การใช้ Phoenix ก็จำเป็นต้องทำอย่างนั้น
เพราะแม้แต่ในโลกของการปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบปัจจุบัน
หลายประเทศก็ยังถูกต้านจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรเอาได้ง่าย ๆ
ใกล้เปลี่ยนศตวรรษแล้ว การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจก็อาจเหลือทางเลือก
ให้บางประเทศที่อาจสร้างแรงต้านอยู่บ้าง บางประเทศอาจต้องการเวลาเพื่อการเปลี่ยนผ่าน
อาจปล่อยให้ภาคเอกชนใช้สกุลเงินสากลนี้ในขณะที่สกุลเงินท้องถิ่นก็ยังอยู่
แล้วปล่อยให้ประชาชนในประเทศเป็นผู้เลือกเคลื่อนย้ายเข้าแบบเต็มรูปในขั้นสุดท้ายต่อไป ....
Phoenix อาจเริ่มต้นในลักษณะค้อกเทลร่วมกับสกุลท้องถิ่น
ก็แบบเดียวกับ SDR (Special Drawing Right) เป็นอยู่ในปัจจุบัน ..
แต่ในที่สุดแล้ว ประชาชนก็จะเห็นถึงอำนาจซื้อและความมั่นคงในเสถียรภาพของค่าเงินไปเอง
เตรียมการต้อนรับ Phoenix ที่กำลังจะมาถึงในราวปี 2018 กันเถอะ

ที่มา: สายัณห์ รุจิรโมรา