ธรรมะเชิงประวัติศาสตร์ นิยามของวัฏจักร การสร้างใหม่แล้วทุบทิ้ง เป็นวงกลมไปเรื่อยๆ
ความลำบากจริงๆไม่มีหรอก
ความสุขสบายจริงๆก็ไม่มีหรอก
ก็มีเพียงแค่ความไม่เข้าใจโลกเท่านั้นเอง
ที่ทำให้ต้องลำบาก..ใจ..
วัฏ แปลว่า วงกลม วัฏสงสาร แปลว่า วงกลมที่น่าสงสาร
ผู้ที่ตกอยู่ในวัฏสงสาร แปลว่า ผู้ที่ตกอยู่ในวงกลมที่น่าสงสาร คือวงกลมของการเป็นทาส ความรู้เท่าทันแล้วรู้จักวางอุเบกขาคือนิ่งเฉย เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการออกจากวงกลมของการเป็นทาส
ความร่ำรวยที่แท้จริง ไม่ได้หมายถึง การมีเงินมาก เพราะถึงรวยอย่างไร คุณก็ไม่มีทางรวยกว่าคนที่มีอำนาจในการพิมพ์เงินได้ อย่างแน่นอน ออกจากความโง่งมงาย ออกจากความหลงว่าตนเองฉลาด กับของพวกนี้ได้แล้ว
สติปัญญาที่รู้เท่าทันอาการของโลกธรรมที่เกิดแก่ตนต่างหาก ที่จะสามารถสร้างความร่ำรวยที่แท้จริงให้คุณได้ นั้นคือ อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์เพียงอย่างเดียวที่จะทำให้คุณสุขสบายข้ามภพข้ามชาติได้ รู้อย่างนี้แล้วก็พึงตัดสินใจ ลด ละ เลิก ความทะเยอทะยานอยาก ความเสียเวลา ความเกินพอดี ในสิ่งที่ไม่ได้นำพาความร่ำรวยที่แท้จริงมาให้คุณได้แล้ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

20. สหรัฐ vs จีน: ใครพึ่งพาใคร?
แล้วจีนจะยอมหรือไม่ถ้าหากว่ากลุ่มแองโกลอเมริกันผลักดันให้SDRของIMFเป็นเงินสกุลหลักของโลก และให้IMFรับทบาทเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางทั้งหลายเพื่อว่าโลกตะวันตกจะได้คอนโทรลระบบการเงินโลกต่อไปในศตวรรษที่ 21? แน่นอนว่า จีนกับรัสเซียไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว ถ้าเห็นด้วยก็โง่เต็มแก่ เพราะว่าตามโครงสร้างของIMFแล้วที่ก่อตั้งโดยกลุ่มแองโกลอเมริกันไม่ได้โหวตเสียงเพื่อรับรองมติต่างๆตามหลักประชาธิปไตย แต่โหวตตามส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งสหรัฐถือหุ้นมากที่สุด16.5% รองลงมาคือญี่ปุ่น6.2% จีน 6.1% เยอรมันนี5.3% ฝรั่งเศส4.0% อังกฤษ4.0% อิตาลี3.0% อินเดีย2.6% รัสเซีย2.6% บราซิล2.2% แคนาดา2.2% ซาอุดิ อาราเบีย2.0% เศรษฐกิจจีนใหญ่กว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น4เท่า แต่เสียงโหวตของญี่ปุ่นในIMFมีมากกว่าจีน
จีนกับรัสเซียเสียงโหวตรวมกันได้แค่8.6%ที่เหลือก็เป็นหน้าม้าให้กลุ่มแองโกลอเมริกันทั้งนั้น รวมท้ังบราซิล อินเดียที่เป็นสมาชิกของBRICSแต่ชื่อ แต่หัวใจไปอยู่ฝั่งตะวันตกท้ังนั้น
ส่วนสยามประเทศไม่ต้องห่วง ถือแค่เศษหุ้น มีนโยบายพวกมากลากไป พวกมากไปทางไหนก็จะไปทางนั้น เชฟดี เพราะเรานิยมประชาธิปไตยยยย
ด้วยเหตุนี้ IMFจะทำทุกอย่างตามสกริ๊ปของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือกลุ่มแองโกลอเมริกัน หรือจะบอกได้ว่าSDRเป็นเงินของกลุ่มแองโกลอเมริกันก็ว่าได้ ไม่ได้เป็นเงินของสมาชิก190ประเทศ
เมื่อไม่เห็นด้วย จีนจึงเดินหน้าสร้างดิจิตัลหยวน พัฒนาระบบการเงิน และระบบชำระเงินภายในให้เข้มแข็ง สร้าง5จีเพื่อรองรับธุรกรรมทางการเงินในอนาคตให้มีความสามารถในการแข่งขัน สร้างระบบSWIFTของตัวเองเรียกว่าCross Border Interbank Payment Systemเพื่อเป็นแผนสำรองในการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศในกรณีที่ถูกสหรัฐตัดขาดจากระบบSWIFT
ที่สำคัญจีนสร้างAsian Infrastructure and Investment Bank(AIIB)เพื่อปล่อยกู้โครงสร้างพื้นฐานในโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ที่จะผนวกเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาเข้าด้วยกัน เพื่อผ่องถ่ายดอลล่าร์ออกไปและเพิ่มบทบาทของเงินหยวนในเวทีการเงินระหว่างประเทศ
ในปัจจุบันAIIBกำลังทำหน้าที่เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาเหมือนกับAsian Development Bankที่ญี่ปุ่นคุมอยู่ หรือธนาคารโลกที่สหรัฐคุมอยู่ ต่อไปAIIBอาจจะเพิ่มหน้าที่เหมือนIMF ก็ได้ในการเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางของสมาชิกประเทศที่เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศสมาชิก โดยมีหยวนดิจิตัลเป็นเงินสกุลหลัก
ย้อนกลับมาดูรายละเอียดของกลไกในการสร้างSDRให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกแทนยูเอสดอลล่าร์ที่หมดประโยชน์ หรือกำลังจะถูกเฉดหัวทิ้ง
กลุ่มแองโกลอเมริกันพยายามเอาใจจีนเหมือนกัน ด้วยการยอมให้เงินหยวนของจีนเข้าไปอยู่ในตระกร้าเงินSDR ของIMFตั้งแต่ปี 2016 โดยในตระกร้าเงินSDR มีเงินดอลล่าร์ ยูโร ปอนด์ เยนถ่วงน้ำหนักอยู่แล้ว โดยในปัจจุบันนี้ IMFมีเงินกองทุนที่สมาชิกประเทศส่งเงินสมทบประมาณ973,000SDR ซึ่งทำให้IMFสามารถปล่อยกู้เงินให้ประเทศที่เจอวิกฤติการเงินได้707,000ล้านSDR หรือประมาณ$1ล้านล้าน
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง1ยูเอสดอลล่าร์กับ SDRอยู่ที่0.7021
เงินหยวนของจีนเข้าตระกร้าเงินของIMFได้เปรียบเหมือนจีนควงกระบี่คนเดียวแล้วเดินเข้าดงเสือสิงห์กระทิงแรดที่คอยจ้องจะเขมือบ แต่ลองใจจีนก่อนว่าจะเข้าพวก หรือจะแยกวงเล่น
เอาเข้าจริงแล้ว จีนกับรัสเซียไม่ได้ให้ค่ากับยูเอ็น IMFหรือWorld Bankที่รับใช้โลกตะวันตกมากกว่าที่จะรักษาความยุติธรรมทางการเมืองและทางการเงินให้กับโลกใบนี้ เมื่อถึงเวลาจริงๆ คงจะปล่อยให้องค์กรที่ยิ่งใหญ่นี้เฉาตายไปเอง หรือไม่ก็ยุบทิ้งไปเลย ไม่ให้รกหูรกตา
ช่วงระหว่างปี 1971 กับปี1981 IMFมีการปล่อยกู้เงินSDRเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งIMFสวมบทพระเอกในวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997โดยปล่อยกู้ให้ไทย อินโดเนเซียและเกาหลีใต้ หลังจากนั้น บทบาทของIMFดูเหมือนว่าจะเงียบๆไป
พอเกิดวิกฤติวอลล์สตรีทปี 2008-2009 IMFกลับมาเป็นพระเอกอีกด้วยการปล่อยกู้SDRให้กับประเทศในยุโรปเป็นหลักที่เจอวิกฤติในปี 2010ที่ลามจากตลาดสหรัฐเข้ายุโรป
ในเดือนมกราคมปี 2011 IMFเปิดแผนมาสเตอร์แพลนซึ่งๆหน้าที่จะเอาSDRมาแทนดอลล่าร์ แต่คนอเมริกันหรือคนทั่วไปไม่ให้ความสำคัญ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือคิดว่ามันเป็นเรื่องจินตนาการเพ้อฝัน
ในแผนของIMFจะมีการสร้าง และการพัฒนาตลาดบอนด์สำหรับSDR มีดีลเลอร์SDR และมีเครื่องมือทางการเงินต่างๆที่จะรองรับธุรกรรมของSDRไม่ว่าจะเป็นตลาดซื้อคืน (repurchase market) ตลาดอนุพันธุ์ ระบบเคลียริ่ง เซทเทิ้ลเมนท์ รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือหรือผู้เล่นต่างๆที่จะทำให้ตลาดบอนด์SDRมีสภาพคล่องที่สูงเหมือนกับตลาดพันธบัตรสหรัฐในเวลานี้ หรือให้ก๊อปปี้ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐไปเลย
ในปี 2016 ธนาคารโลกประเทศว่าจะระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรในรูปของเงินสกุลSDR โดยให้สถาบันการเงินเข้ามาลงทุน ธนาคาร Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) ซึ่งเป็นธนาคารพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน และเป็นอันเดอร์ไรท์ดีลนี้ แบงก์จีนทำหน้าที่ช่วยเอาพันธบัตรไปขายให้นักลงทุน ถ้าขายไม่หมดจะรับซื้อเข้าพอร์ตเอง จีนยินดีเล่นตามเกมเพื่อเรียนรู้ระบบ เพื่อดูว่าโลกตะวันตกกำลังเล่นอะไรกัน
https://dailyreckoning.com/get-ready-for-world-money
นายJim Rickards ผู้แต่งหนังสือThe Death of Money และเป็นซีไอเอทางการเงินบอกว่า การเปลี่ยนแปลงการเป็นเงินสกุลหลักของโลกจากดอลล่าร์มายังSDR อาจจะเกิดชั่วข้ามคืน โดยไม่มีใครตั้งหลักก็ได้ เพราะว่าSDRแต่งตัวชุดขาวคอยเข้ารับตำแหน่งแล้ว
เขาบอกว่าดอลล่าร์จะลดบทบาทเป็นเพียงเงินท้องถิ่นเหมือนเงินบาท ในระยะแรกคนทั่วไปอาจจะไม่มีSDRใช้ แต่อาจยังคงใช้เงินสกุลของตัวเอง แต่ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ หรือการทำเซทเทิ้ลเม้นท์ทางการเงินระหว่างประเทศ หรืองบดุลของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจะโชว์เงินสกุลSDR แทนที่จะเป็นดอลล่าร์เหมือนอย่างปัจจุบัน
https://www.financialsense.com/contributors/jim-rickards/death-of-money-interview-part-2
ประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาคืองบดุลของเฟด หรือธนาคารกลางของสหรัฐมีการลีเวอร์เรจ80:1 ในขณะที่งบดุลของIMFอยู่ที่3:1 เมื่อIMFเป็นธนาคารกลางของโลกแล้วจะมีอำนาจในการพิมพ์เงิน หรือเพิ่มสภาพคล่องได้ไม่มีขอบเขตจำกัด ในขณะที่เฟดจะพิมพ์เงินเพิ่มงบดุลถึง$10ล้านล้านภายในปี 2021นี้ ทำให้หลายคนตาเหลือกว่าทำได้อย่างไร เพราะเฟดมีเงินกองทุนแค่$100,000ล้านเท่านั้น
SDRพิมพ์เงินได้ไม่จำกัดคือความฝันอันสูงสุดของกลุ่มแองโกลอเมริกัน
สำหรับเรื่องทางออกของจีนจากกับดักดีมานด์เทียมของดอลล่าร์ และกับดักที่ใหญ่กว่าคือSDRจะก้าวข้ามอย่างไร รวมท้ังบทบาทของหยวนดิจิตัลจะมีการอธิบายในบทต่อไป 9/8/2021
ที่มา: https://www.facebook.com/ThanongFanclub/posts/373556184139039