Daily Reckoning The Bogus Case Against Gold James Rickards Nov 12, 2020
ตอนนี้ราคา #ทองคำ อยู่ในช่วงต้น ๆ ของ bull run ใหญ่ครั้งที่สาม พร้อมที่จะนำไปสู่ราคาที่ record heights
สองครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นคือ ช่วงปี 1971 - 1980 (ราคาขึ้นไป 2,200%) และช่วงปี 1999 - 2011 (ราคาขึ้นไป 760%)
หลังจากพีคเมื่อปี 2011 ราคาทองคำร่วงอย่างแรงลงมาต่ำกว่า $1,100 ก่อนปี 2015
มาตอนนี้ก็ถึงเวลาของช่วงที่สาม ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2015 เมื่อตอนราคาอยู่ที่ $1,050 ..จุดต่ำสุดของ bear market ของช่วง 2011 - 2015 หลังจากนั้นราคาก็มีแต่จะขึ้นมาตลอด แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับเมื่อครั้ง 2,200% และ 760% ของ bull ทั้งสองครั้งแรกนั้น
ยังไงก็ตาม พวกนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักก็ยังคงละเลยไม่สนใจในทองคำ พวกเขาเรียกมันว่าโบราณวัตถุ ไม่มีที่ยืนในระบบการเงินของโลกปัจจุบันหรอก (โว้ย)
เรามาดูถึงสามเหตุผลหลักที่นักเศรษฐศาสตร์แย้งเรื่องความสำคัญของทองคำ และดูว่าพวกเขาคิดผิดยังไง
There’s Just Not Enough Gold to Support the Money Supply! ทองคำมีไม่พอที่จะเป็นฐานอิงให้กับปริมาณเงินทั้งหมดหรอก
เรื่องแรก "ผู้เชี่ยวชาญ" มักจะออกมาพูดเสมอว่าทองคำมีไม่พอที่จะประกันค่าของระบบการเงินของโลกได้ ไม่อาจรองรับเงินกระดาษ ..ทรัพย์สิน/หนี้สิน ..ยอดใน balance sheet ที่สูงลิ่วของสถาบันการเงินทั้งโลกได้
เหตุผลในเรื่องนี้เหลวไหลมาก ถูกแล้วที่ปริมาณทองคำในโลกมีจำกัด แต่เรื่องที่สำคัญคือ มันเพียงพอที่จะรองรับได้ทั้งระบบ เพียงแต่เราต้องวัดค่า..ตั้งราคามันให้ถูกต้องเท่านั้น
ถูกแล้วที่ราคาทองคำตอนนี้แค่ $1,875 ถ้าขืนผูกค่าของมันเวลานี้ ก็จะทำให้เกิดเงินฝืดอย่างรุนแรง
ถ้าจะหลีกเลี่ยงก็มีทางดียว คือกำหนดราคาทองคำเสียใหม่ นั่นคือตั้งราคาไว้ที่ $14,000 ต่อออนซ์ ...มันก็จะเพียงพอรองรับ money supply ของระบบการเงินทั้งระบบ
พูดอีกอย่างก็คือ ปริมาณทองเท่าไหร่ก็ได้ เพียงพอต่อระบบการเงินทั้งระบบ เพียงแต่ต้องกำหนดราคาให้ถูกต้องเท่านั้น ...ปัญหามีแค่การจะตกลงกันให้ได้เรื่องการเซ็ทราคาเท่านั้น ซึ่งคำนวนได้ไม่ยาก เป็นการคำนวนที่ simple มาก
เอาปริมาณเงินที่มีทั่วโลกตั้ง หารด้วยปริมาณทองคำที่มีในโลก ..ผลที่ออกมาคือราคาทองคำ
เพียงแต่มีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น ต้องการอิงค่าเงินกับทองคำเต็ม 100% หรือไม่ หรือแค่ 40% หรือแค่ 20% ...ซึ่งมันก็มีเหตุผลปลีกย่อยไปด้วย
ผมเคยคำนวนและคิดจำนวนที่เหมาะสมคือ 40% ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนว่าน้อยไป
ถ้าคิดจาก money supply ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การอิงค่าด้วยทองคำ 40% เพียงพอจะไม่ทำให้เกิดเงินฝืด..โดยราคาทองคำจะอยู่ที่ $14,000 ...และราคาอาจเพิ่มขึ้นได้อีกในกรณีมีการเพิ่มปริมาณเงิน
หลายรัฐบาลเริ่มจะสิ้นหวังที่จะเอาชนะเงินเฟ้อที่ลดลง และภาวะเงินฝืด ...จำนวนหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การเติบโตลดลงและทำให้ผู้คนไม่กล้าใช้จ่าย ซึ่งเป็นสองสาเหตุใหญ่ของเงินฝืด ...ทางแก้มีทางเดียวคือต้องลดค่าเงินเมื่อเทียบกับทองคำ
มีการทำแบบนั้นมาแล้วในปี 1933 และ 1971 ซึ่งมันทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ทั้งสองครั้ง ...ถ้ามีการลดค่าเงินดอลลาร์ถึง 85% (พอ ๆ กับเมื่อช่วงปี 1970s) ...จะทำให้ภาระหนี้สินที่มีอยู่ตอนนี้หมดไปเลย และยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้อีกด้วย แต่ราคาทองคำจะต้องเท่ากับ $15,000 ต่อออนซ์นะ
ทองคำที่มีน่ะ เพียงพออยู่แล้วสำหรับความต้องการการในระบบการเงิน ...แค่กำหนดราคาของมันให้ถูกต้อง
ผมสามารถสรุปการวิเคราะห์ได้เลยว่า เรากำลังจะได้เห็นการพังทลายของการเงินของโลกในระบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ หมายถึงความเชื่อถือของระบบเงินกระดาษทั้งหมดทั่วโลก ไม่ใช่แค่ดอลลาร์หรือยูโร
เมื่อความเชื่อมั่นพังทลายลง ธนาคารกลางทั่วโลกก็อาจจะต้องกลับลำ โดยใช้ให้ทองคำเป็น benchmark หรืออาจจะใช้เป็นมาตรฐานเพื่อนำความเชื่อมั่นกลับคืนมา ...ซึ่งไม่น่าจะเป็นการเต็มใจทำหรอก ไม่มีธนาคารกลางไหนอยากกลับไปใช้มาตรฐานทองคำเลย
แต่ใน scenario ที่ความเชื่อมั่นหายไปหมดแบบนี้ ก็คงต้องใช้ทองคำมาเป็นมาตรฐานอิงค่าแบบใดแบบหนึ่ง
Not Enough Gold to Support Global Trade ทองคำมีไม่มากพอจะ support การค้าของโลก
เหตุผลที่มาเป็นข้อโต้แย้งที่สองคือ ทองคำไม่อาจมา support การค้าของโลกที่เติบโตเร็ว เพราะปริมาณทองคำไม่อาจเพิ่มเร็วได้ทัน ...output ทองคำจากเหมืองในแต่ละปีมีแค่ 1.6% ของสต้อก (กร้าฟการผลิตทองคำของโลกเป็น flatline อยู่ที่ประมาณ 3,300 ตันมาตลอดห้าปีแล้ว) ...การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 3-4% ต่อปี (ยกเว้นปี 2020 เนื่องจาก Covid)
นักวิจารณ์พากันพูดว่าถ้าการเติบโตของโลกอยู่ที่ประมาณ 3 - 4% ต่อปี แต่ทองคำอยู่ที่ 1.6% นั่นหมายความว่าทองคำจะโตไม่ทันการค้าของโลก ดังนั้นมาตรฐานทองคำจะทำให้เกิดภาวะเงินฝืดในระบบจนได้ ....แต่นั่นมันเหลวไหลทั้งนั้น เพราะ output การผลิตทองคำไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการที่ธนาคารกลางจะเพิ่มซัพพลายทองคำเลย
เหตุผลคือ ทองคำที่จะใช้อิงค่าเงิน..ที่อยู่ในครอบครองของธนาคารกลางและกระทรวงการคลังทั่วโลกอย่างเป็นทางการ รวมกันแล้วประมาณ 35,000 ตัน ....ซึ่งทองคำที่มีอยู่ทั่วโลกรวมถึงที่เป็นของเอกชน และจิวเวลรี่ เท่ากับ 180,000 ตัน เท่ากับว่าอยู่ในมือเอกชนนอกทางการถึง 145,000 ตัน
ถ้าธนาคารกลางแห่งใดต้องการเพิ่ม money supply สิ่งที่ต้องทำก็คือพิมพ์เงินเพิ่มเข้าซื้อทองคำจากเอกชนมาเก็บตามจำนวนที่ต้องการ เป็นการส่งเงินเข้าหมุนเวียนในตลาด ....ธนาคารกลางไม่ได้ถูกจำกัดให้ใช้แต่ output จากเหมืองเท่านั้น แค่ซื้อทองคำจากตลาดก็ได้แล้ว
ข้อโต้แย้งนี้มันก็ถูกต้องเพียงผิวเผินเท่านั้น ซึ่งถ้าคิดไปให้ดี ก็จะเห็นว่ามันเหลวไหล
Money Doesn’t Offer Yield
ข้อโต้แย้งต่อไปคือทองคำไม่สร้างผลตอบแทน นั่นเป็นเหตุผลใหญ่ของ Warren Buffett ต่อทองคำเลย ...ซึ่งก็ใช่ ..ทองคำคือ money และ money ก็ไม่สร้างผลตอบแทนจริง ๆ ด้วย ....การที่เราได้ผลตอบแทนจากเงินของเราก็ต่อเมื่อเราส่งเงินของเราเข้าไปเสี่ยง โดยได้รับดอกเบี้ยเป็นค่าความเสี่ยง ...เมื่อคุณส่งเงินเข้าเป็นเงินฝากในธนาคาร มันก็ไม่ใช่ money ของคุณแล้ว ..แต่มันเป็น unsecured liability ที่มีความเสี่ยง..ของธนาคารที่อาจทำให้คุณเจ๊งได้เลยแหละ
คุณอาจสร้างผลตอบแทนให้เงินของคุณจากการเข้าซื้อหุ้น พันธบัตร เรียลเอสเตทหรืออื่น ๆ ได้ แต่เงินของคุณจะไม่ใช่เงินของคุณอีก .... ดีกรีความเสี่ยงมันมากขึ้นตามอัตราผลตอบแทนที่คุณต้องการ
ทองคำ physical ไม่มีผลตอบแทนให้ แต่มันไม่มีความเสี่ยง มันคือสิ่งที่รักษาความมั่งคั่งของคุณให้คงอยู่กับคุณตลอดไป ...มันคือ money
ข้อโต้แย้งทั้งสามฟังไม่ขึ้นเลยถ้าเรารู้ความจริง
ตอนนี้ตลาด bull market ของทองคำกำลังมา ตามที่ผมทำนายว่าจะถึง $15,000 ก่อนปี 2026 ...แน่นอนว่ามันจะไม่วิ่งขึ้นไปเป็นเส้นตรงหรอก อาจมีการร่วงลงอยู่บ้าง แต่มันจะเป็นเทรนด์ขาขึ้น
แต่ทองที่คุณครอบครอง ต้องไม่ใช่กองทุน ต้องเป็น physical เท่านั้น ...เป็นได้ทั้งแท่งหรือเหรียญ
Regards,
Jim Rickards for The Daily Reckoning

ที่มา: สายัณห์ รุจิรโมรา